ผลของแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงกลุ่มไม่สะสมกำมะถันต่อการงอกเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าแตงกวา

ผลของแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงกลุ่มไม่สะสมกำมะถันต่อการงอกเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าแตงกวา

Effect of photosynthetic bacteria on seed germination and the growth of cucumbers

--------------------------------------------

โดย

ผู้แต่งร่วม เก่ง อินทสังวาร1 บุญส่ง เอกพงษ์2* ยุวดี ชูประภาวรรณ2 และบุบผา ใจเที่ยง2 Keng Inthasangvan1 Boonsong Ekpong2* Yuwadee Chupraphawan2 and Bubpa Chaitiang2

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-10-27 10:25:18

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของแบคทีเรียสังเคราะห์แสงจำนวน 3 ไอโซเลท ได้แก่ UBU1 UBU2 และ UBU3 ที่มีผลต่อการส่งเสริมการงอกเมล็ด และการเจริญเติบโตของแตงกวา 3 พันธุ์ได้แก่ เมชโช แบร์นเนอร์ และนอร์ทเทิร์นซี 327 F1 ทำการทดลอง ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1-30 สิงหาคม 2560 วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำ ๆ ละ 20 เมล็ด พบว่า แบคทีเรียสังเคราะห์แสง 2 ไอโซเลท UBU1 และUBU2 สามารถส่งเสริมการงอกของเมล็ดแตงกวาพันธุ์ลูกผสมเมชโช แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยมีการงอกของเมล็ดเท่ากับ 86.33 และ 87.00 เปอร์เซ็นต์ แต่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบ UBU3 (82.00) และการแช่ในน้ำกลั่น (76.00) ในขณะการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อทั้ง 3 ไอโซเลท กับแตงกวาพันธุ์ลูกผสมแบร์นเนอร์ และลูกผสมนอร์ทเทิร์นซี 327 F1 พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านของเปอร์เซ็นต์ความงอก ความยาวราก และความสูงของต้นกล้า แต่แบคทีเรียสังเคราะห์แสง UBU1 และ UBU2 ให้ความยาวราก และความสูงของต้นกล้าแตกต่างจากน้ำกลั่น (หน่วยควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง จึงสรุปได้ว่า เชื้อแบคทีเรียสังเคราะห์แสงไอโซเลท UBU1 และ UBU2 ควรได้รับถูกคัดเลือกเพื่อนำไปทดสอบการส่งเสริมการเจริญเติบโตแตงกวาในสภาพแปลงปลูก หรือโรงเรือนปลูกพืชต่อไป คำสำคัญ: แบคทีเรียสังเคราะห์แสง การงอก พันธุ์แตงกวา

Abstract

The aim of this research was conducted to investigate the effect of 3 isolation photosynthetic bacteria (UBU1, UBU2 and UBU3) on growth and seed germination of 3 cucumber varieties (Masso, Banner and Northern C327 F1) at Faculty of Agriculture, Ubon Ratchathani University during 1 - 30 August, 2017. Completely Randomized Design with 3 replications was employed. It was found that 2 photosynthetic bacteria UBU1 and UBU2 isolations showed no different on seed germination (86.33%, 87.00%) of Masso variety but were highly significant from UBU3 (82.00%) and control (76.00%), respectively. Seed germination, root length and seedling in 2 cucumber varieties (Banner and Northern C327 F1) were not significant by 3 photosynthetic bacteria. However, it was found that UBU1 and UBU2 were highly significant in promoted seed germination, root length and seedling high than control. It is concluded that photosynthetic bacteria isolation UBU1 and UBU2 should be further exploited in the field or greenhouse production area. Keywords: Photosynthetic bacteria, Germination, Cucumber

วารสารปีที่ 18 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152