กระบวนการถ่ายทอดความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ และการประยุกต์ใช้ของ ผู้เข้ารับการอบรม จากสถาบันการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี

กระบวนการถ่ายทอดความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ และการประยุกต์ใช้ของ ผู้เข้ารับการอบรม จากสถาบันการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี

Process of Transferring Knowledge on Bio-Organic Farming and Trainees Application from Suphan Buri Organic Farm

--------------------------------------------

โดย วรรณพร รัตนวราภรณ์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-18 10:24:22

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ของสถาบันการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ของผู้เข้ารับการอบรม 3) เพื่อศึกษาการนำเกษตรอินทรีย์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เข้ารับการอบรม จากสถาบันการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 241 ราย และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เข้ารับการอบรมที่นำไปประยุกต์ใช้จริง จำนวน 10 ราย และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการถ่ายทอดความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย 4 กระบวนการ คือ การบรรยาย การลงสถานที่จริง การสาธิต และการลงมือปฏิบัติ ความรู้ที่ถ่ายทอดได้แก่ การคัดพันธ์ข้าว จุลินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียง 2) ระดับความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า มีระดับความรู้ในภาพรวมแต่ละรายด้านอยู่ในระดับสูง สำหรับการประยุกต์ใช้ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ พบว่า ได้นำความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ และเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ผลจากการประยุกต์ใช้ ทำให้ผู้ที่นำความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ไปประยุกต์ใช้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น คำสำคัญ: กระบวนการถ่ายทอด, เกษตรอินทรีย์, การประยุกต์ใช้

Abstract

The objectives of this study were to; 1) study process of transferring knowledge on Bio-Organic Farming of the learning center of Supanburi Organic Farm., 2) To study knowledge level on Bio-Organic Farming of Trainees and Application . The sample was 241 trainees, and the research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation, Including in this analysis were in-dept interview with 10 applicants and descriptive analyzed. The results of this study were as follow: 1) They are 4 methods for the process of transferring knowledge on Bio-Organic Farming. These were lecturing, field survey, demonstration and field practice. The knowledge contents consisted of rice varieties selection, microbiology and organics fertilizer and sufficiency economic. 2) Overall individual in organic farming knowledge level was high and application knowledge on Bio-Organic Farming of trainees was found. This resulted in a better living standard, lower expenses, higher income and a better health. Keywords: process, organic, apply

วารสารปีที่ 17 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152