ระบบปฏิทินส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค

ระบบปฏิทินส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค

The Calendar System Promotes the Production of Agricultural Products in Line with Consumer Demand

--------------------------------------------

โดย นันทยุทธ์ ละม้ายจีน ธีระ สาธุพันธ์ ประยงค์ ฐิติธนานนท์ และ อุดมเดช ทาระหอม

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2021-12-27 09:13:43

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบปฏิทินส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบปฏิทินส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภค วิธีการดำเนินการวิจัย โดยการออกแบบและพัฒนาระบบตามกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ SDLC และประเมินประสิทธิภาพของระบบ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาษาพีเฮชพี ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล และแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ส่วนผู้ดูแลระบบ 2) ส่วนผู้ใช้ทั่วไป 2. ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, = 0.66) คำสำคัญ: การพัฒนาระบบ ปฏิทิน สินค้าเกษตร

Abstract

The objectives of this research were to 1) develop a calendar system for promoting agricultural production to meet consumer demand, 2) evaluate the efficiency of the calendar system for promoting agricultural production to meet consumer demand. The research approach included system design and development according to the SDLC software development process and system performance evaluation. The use of sample in this research were 5 experts in system design and development. The instrument research consisted of PHP, MYSQL database, and the system performance evaluation form. The statistical data analysis were mean and standard deviation. The results of the research showed that 1. The developed system consisted of 2 main parts which were 1) administrator and 2) general user. 2.The evaluation of the efficiency of the calendar system by the experts found that the efficiency was at high level ( = 4.15, = 0.66). Keywords: system development, calendar, agricultural products

วารสารปีที่ 20 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152