อิทธิพลของความแตกต่างพันธุ์และความยาวของกิ่งพันธุ์ ที่มีต่อการเจริญเติบโต ของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees)

อิทธิพลของความแตกต่างพันธุ์และความยาวของกิ่งพันธุ์ ที่มีต่อการเจริญเติบโต ของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees)

Influence of Different Cultivars and Cutting Lengths on Growth of Kalmegh (Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees)

--------------------------------------------

โดย โสมนันทน์ ลิพันธ์

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 09:07:10

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานทดลองนี้เพื่อศึกษาถึงผลของพันธุ์และความยาวของกิ่งพันธุ์ที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยอดและรากของกิ่งพันธุ์ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees) วางแผนการทดลองแบบ Split plot in randomized complete block design มีจำนวน 4 ซ้ำ โดย Main plot ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร 4 พันธุ์ คือ ปราจีนบุรี พิจิตร 4-4 ราชบุรี และพิษณุโลก 5-4 และ Sub plot ได้แก่ ความยาวของกิ่งพันธุ์ที่แตกต่างกัน 4 ความยาว คือ ยาว 5, 8, 10 และ 12 ซม. ตามลำดับ ผลจากการทดลองพบว่า กิ่งพันธุ์ที่ได้จากพันธุ์ปราจีนบุรี มีการเจริญเติบโตทางลำต้น และให้ผลผลิตมากที่สุด รองลงมาคือ พันธุ์พิจิตร 4-4 และราชบุรี ในขณะที่พันธุ์พิษณุโลก 5-4 มีค่าต่ำสุด ความยาวของกิ่งพันธุ์มีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโต และการสะสมน้ำหนักแห้งของข้อมูลที่เก็บมาทั้งหมด (ได้แก่ น้ำหนักลำต้นแห้ง ใบแห้ง รากแห้ง ดอกและฝักแห้ง น้ำหนักแห้งรวม ผลผลิตน้ำหนักเมล็ดและใบแห้ง) กิ่งพันธุ์ที่มีความยาวมากที่สุด (12 ซม.) มีการเจริญเติบโตของยอดและรากมากที่สุด (200.42 กรัมต่อตารางเมตร และ 9.25 กรัมต่อต้น) รองลงมาคือ กิ่งพันธุ์ที่มีความยาวที่สั้นลง (10 และ 8 ซม.) ในขณะที่กิ่งพันธุ์ที่สั้นที่สุด (5 ซม.) มีค่าการเจริญเติบโตของยอดและรากน้อยที่สุด (74.68 กรัมต่อตารางเมตร และ 2.03 กรัมต่อต้น) ไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์และความยาวของกิ่งพันธุ์ในข้อมูลทั้งหมดที่เก็บมา (ได้แก่ ความสูงของลำต้น น้ำหนักลำต้นแห้งและใบแห้ง จำนวนการแตกกิ่ง น้ำหนักรากแห้ง ความยาวราก น้ำหนักดอกและฝักแห้ง น้ำหนักแห้งรวม ผลผลิตน้ำหนักเมล็ดและใบแห้ง) ระหว่างพันธุ์และความยาวของกิ่งพันธุ์ อย่างไรก็ตามสามารถแนะนำได้ว่าในการขยายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรนั้น ควรใช้กิ่งพันธุ์ที่มีความยาว 12 ซม. และควรใช้พันธุ์ปราจีนบุรีจะให้ผลดีที่สุด คำสำคัญ: พันธุ์, ความยาวกิ่งพันธุ์, การเจริญเติบโต, ฟ้าทะลายโจร

Abstract

The present study was conducted influence of different cultivars and various cutting length on shoot and root growth cutting in Kalmegh (Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees). The experiment was laid out in pot chamber as split plot in randomized complete block design with four replications. Four Kalmegh cultivars (Prachinburi, Pichit 4-4, Rachaburi and Phisanulok 5-4) and shoot cutting of four length classes i.e. 5, 8, 10, 12 cm. were used as main plot and sub plot, respectively. The results disclosed that the highest growth and yield from shoot cutting were recorded in Prachinburi cultivar and followed by Pichit 4-4 and Rachaburi whereas the lowest was Phissanulok 5-4 cultivar. Growth and dry matter of all parameters (such as stem, leaf and root dry weight, flower and pod dry weight, total dry weight, seed and leaf dry weight yield) were greatly influenced by cutting length. The longest cutting length (12 cm.) gave the highest shoot and root growth (200.42 g m-2 and 9.25 g plant-1) followed by the shorter cutting length (10 cm. and 8 cm.) whereas the shortest cutting length (5 cm.) gave the lowest short and root growth (74.68 g m-2 and 2.03 g plant-1). There were no interaction between cultivars and cutting length in all studied characteristically data (for example plant height, stem and leaf dry weight, branch number, root dry weight and root length, flower and pod dry weight, total dry weight, seed and leaf dry weight yield). However, therefore, it can be recommended that the Prachinburi cultivar with 12 cm. cutting length is the best propagation method for Kalmegh. Keywords: cultivars, cutting length, growth, Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184