แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Guidelines for Teaching and Learning Agricultural Activities by Participating in Secondary School, Benjalak Pittaya School, Benchalak District, Sisaket Province

--------------------------------------------

โดย อานุภาพ ศรีบุญเรือง

ผู้แต่งร่วม ไกรเลิศ ทวีกุล

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 09:15:08

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาเกษตรกรรม 2) ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาเกษตรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการเกษตรในโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงผสม (Mixed Methods Research) เก็บข้อมูลจากประชากรจำนวน 100 คน ในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2564 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการจัดเวทีชุมชนเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการแบบมีส่วนร่วม Appreciation Influence Control: AIC ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาด้านการเกษตรมีผู้เลือกเรียนน้อย เกิดจากผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญและกิจกรรมด้านการเกษตรไม่น่าสนใจ ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ การจัดการเรียนการสอนวิชาเกษตร ระดับน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียน การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียน แนวทางพัฒนาในการจัดกิจกรรมการเรียน แนวทางพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนด้านการเกษตร ควรมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชุมชนมีส่วนร่วม ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้กระบวนการ AIC พบว่า โครงการหรือกิจกรรมที่ชุมชนและนักเรียนสนใจศึกษา ได้แก่ (1) การปลูกพืชสมุนไพร (2) การเลี้ยงโคนม (3) การปลูกไม้ผลที่ให้ผลผลิตตามฤดูกาล คำสำคัญ: การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การเรียนด้านการเกษตร การมีส่วนร่วมของชุมชน

Abstract

The study was aimed to investigate 1) teaching and learning conditions in agriculture classes, 2) opinions of school’s stakeholders on teaching and learning conditions of agriculture classes, and 3) guidelines to develop teaching and learning activities in agriculture classes in secondary schools by participating in such classes of Benjalak Pittaya school, Benchalak district, Sisaket province. The study was conducted with mixed methods. The data were collected from the population of 100 people during January - October 2021 through interviews and community oratory stage, at which employed Appreciation Influence Control: AIC. The findings showed that only few students would enroll in agriculture classes since they were not aware of the importance of agriculture. Moreover, the students found the agriculture-related activities were not interesting. The opinions on the participation in teaching and learning activities in agriculture classes were at a moderate level by one aspect: teaching and learning agriculture. Another three aspects of the opinion were at a low level: the problems of participating in teaching and learning agriculture, teaching and learning plan, and guidelines to develop teaching and learning activities in agriculture classes. For the development guidelines, it was suggested that they incorporated community-participation activities into agriculture classes. According to AIC criterion, the projects or activities in which the students were interested in 1) planting herbs, 2) dairy farming cow cattle, and 3) planting seasonal fruits. Keywords: Teaching and learning activities, Agricultural education, Community participation

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

185