การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน

การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน

Development and Performance Evaluation of Thai Herbal Products for Community Enterprise

--------------------------------------------

โดย สุภาวดี นนทพจน์1

ผู้แต่งร่วม สุพรรณฉัตร หนูสวัสดิ์1 กัญญารัตน์ เป็งงำเมือง1 พนิดา กมุทชาติ1 และ พรกรัณย์ สมขาว1*

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 09:39:42

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณสมุนไพรในท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี 2) พัฒนาและประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฝึกอาชีพการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3) ถอดบทเรียนจากการฝึกพัฒนาอาชีพเกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการอบรมพัฒนาอาชีพคือหลักสูตรฝึกอาชีพการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินโครงการ และแบบประเมินการฝึกปฏิบัติ ผลการวิจัย เน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ บ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) ผลการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่าผู้เข้าร่วมอบรมบรรลุวัตถุประสงค์ในทุกทักษะ ผลการประเมินระดับความพึงพอใจภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.53±0.23 โดยด้านที่มีระดับคะแนนมากที่สุดคือด้านประโยชน์จากการอบรม 4.58±0.59 รองลงมาคือด้านการฝึกอบรมเท่ากับด้านการบริหารจัดการและด้านวิทยากรมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.52±0.61, 4.51±0.49 และ 4.48±0.60 ตามลำดับ และผลการถอดบทเรียนหลังการฝึกอาชีพ พบว่าการฝึกทำให้เกิดการตระหนักทางภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าของสมุนไพร นักกิจกรรมเสริม และนักการตลาด คำสำคัญ: หลักสูตรระยะสั้น สมุนไพร วิสาหกิจชุมชน

Abstract

The objectives of this research are 1) to expand knowledge about local herbal properties in Ubon Ratchathani province. 2) to provide and assess vocational training programs for the creation of herbal products. 3) to apply the research and development approach to conclude the vocational development training on local herbs. The tools of the research were divided into 2 types: 1) the vocational development training courses of herbal product development and 2) the data collection tools project and practice assessments. The activities focused on workshops and curriculum development in collaboration with the network sector such as houses, temples, and schools (Bowon). Results of the study of course effectiveness indicated that participants achieved objectives in all test skills. The average score of overall satisfaction level was 4.53±0.23. The highest score (4.58±0.59) was found in the part of the training benefits followed by training, management and lecturers, the average scores were 4.52±0.61, 4.51±0.49, and 4.48±0.60 respectively. On the other hand transcription of lessons learned on vocational training, and development of herbal products. It has that the practice raises awareness of local wisdom the value of herbs activists and marketers. Keywords: Short course, Herbs, Community enterprise

วารสารปีที่ 22 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184