การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบชงจากสมุนไพรอินทรีย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

การพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบชงจากสมุนไพรอินทรีย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Development of Healthy Sachet Drinks from Organic Herbs in Chachoengsao Province

--------------------------------------------

โดย นรากร ศรีสุข1*

ผู้แต่งร่วม กัญชญานิศ ศรีนุกูล1 ณัฐวรานาท ใหมตีบ2 และศนิ จิระสถิตย์3

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2024-09-30 13:34:36

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแบบชงบนฐานสมุนไพรอินทรีย์ดั้งเดิมของชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยทำการคัดเลือกสัดส่วนของสมุนไพรต่างๆ จนได้สูตรที่ดีที่สุด 4 สูตร มาวิเคราะห์คุณภาพทางประสาทสัมผัส จำนวน 100 คน และการทดสอบคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และโลหะหนัก ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.1441/2556 พบว่าชุมชนมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้แก่ ถุงหอม ลูกประคบ แป้งเท้ายายม่อม ฝาง และไผ่จืดอบแห้ง จากนั้นทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร โดยเน้นกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพตามความต้องการของผู้ประกอบการ และพบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรที่ได้คะแนนความชอบสูงสุด 4 สูตร จากนั้นนำมาทำการทดสอบเชิงลึก โดยสูตรสมุนไพรที่ประกอบด้วย ฝางร้อยละ 58 ใบเตยร้อยละ 26 และ ไผ่จืดร้อยละ 16 ได้รับคะแนนความชอบโดบรวมสูงที่สุด 8.22 คะแนน กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับร้อยละ 69.78 และจากการตรวจสอบคุณภาพจุลินทรีย์และโลหะหนัก พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรไม่พบโลหะหนัก คือ Arsenic (As) Cadmium (Cd) และ Lead (Pb) ส่วนคุณภาพทางจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.1441/2556 (สมุนไพรรวมผงสำเร็จรูป) และมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เก็บรักษาได้นานขึ้น คำสำคัญ: สมุนไพรอินทรีย์ เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

Abstract

This research aimed to development of healthy sachet drinks from organic herbs in Chachoengsao Province The product were collected from 4 recipes of organic herbs. The data were collected Sensory Evaluation with 100 testers , and Laboratory tests in physical quality, chemical quality microorganism quality and heavy mental base on Thai community product standard no. 1441/2556 The results of the study of product information revealed that produce scented sachets, herbal compress balls, arrowroot, sappan, and paicheud. Therefore, researchers developed develop a herbal beverage product by focusing on health care. So, the researchers developed herbal beverage products based on resources from the enterprise contained. The result of sensory evaluation was 8.22 including, Sappan 58% Pandan 26%, Paicheud 16% with antioxidant activity 69.78±1.21%. The result of heavy mental were Arsenic (As) Cadmium (Cd) and Lead (Pb) not detected. The result of microorganism were follow by Thai community standard no.1441/2556 (Total mixed dried herb). The packaging development were used for shelf life extension for product. Keywords: Organic herb, Healthy herbal beverage, Antioxidant activity

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184