การใช้สารพาโคบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าไข่มุกกระถาง

การใช้สารพาโคบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าไข่มุกกระถาง

Paclobutrazol Appication for Growth of Pearl Millet Pot

--------------------------------------------

โดย กษิดิ์เดช อ่อนศรี1 กัญตนา หลอดทองหลาง1 เกศินี ศรีปฐมกุล1 วาสนา แผลติตะ2 และณัฐพงค์ จันจุฬา3*

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2022-06-28 15:09:38

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

หญ้าไข่มุก Pennisetum glaucum เป็นพืชอาหารสัตว์สำหรับเลี้ยงโคนม แต่ปัจจุบันได้มีการนำต้นหญ้าไข่มุกมาใช้เป็นไม้ดอกประดับสำหรับตกแต่งตามอาคารสถานที่ต่างๆ ใช้ตกแต่งสวน และทำเป็นดอกไม้แห้ง ใช้ในการปักแจกัน หรือทำเป็นช่อดอกไม้แห้ง ทำให้เกิดความสวยงามและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรมากขึ้น การทดลองนี้ได้ศึกษาผลของระดับความเข้มข้นของสารพาโคบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าไข่มุกกระถาง ประกอบด้วย 6 ทรีทเมนต์ คือ ไม่มีการให้สารละลายพาโคลบิวทราโซล หรือมีปริมาณความเข้มข้นของสารละลายพาโคลบิวทราโซล 0 มิลลิกรัมต่อลิตร (PBZ0) และปริมาณความเข้มข้นของสารละลายพาโคลบิวทราโซล 50 100 150 200 และ 250 มิลลิกรัมต่อลิตร (PBZ50, PBZ100, PBZ150, PBZ200 และ PBZ250) จำนวน 10 ซ้ำ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) พบว่า พาโคบิวทราโวลมีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าไข่มุก โดยความเข้มข้นของสาร PBZ ที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ความสูงของต้น ความยาวของใบ น้ำหนักดอกสดและแห้งมีค่าลดลง แต่ไม่มีผลต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น ความกว้างของใบ จำนวนแขนงเฉลี่ยต่อต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของก้านชูดอก และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก โดยสารพาโคบิวทราโซลที่ความเข้มข้น 250 mg/l มีผลทำให้ความสูงของต้นเฉลี่ย ความยาวของใบเฉลี่ย น้ำหนักดอกสดทั้งช่อเฉลี่ยต่อต้น น้ำหนักดอกแห้งทั้งช่อเฉลี่ยต่อต้น และน้ำหนักดอกแห้งเฉพาะดอกเฉลี่ยต่อต้นของหญ้าไข่มุกน้อยที่สุด ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่เหมาะที่จะใช้เป็นแนวทางในการผลิตหญ้าไข่มุกกระถางให้เป็นไม้ดอกประดับตามความต้องการของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมต่อไปได้ คำสำคัญ: พาโคบิวทราโซล หญ้าไข่มุก การเจริญเติบโต ไม้ดอกกระถาง ก้านชูดอก

Abstract

Pearl millet (Pennisetum glaucum) is one of the forages for dairy cattle. Nowadays, it has been considered to be ornamental plants for building decoration, landscape and everlasting flower with their beautiful, then also could be increased income for the farmer. In this experiment, investigation on paclobutrazol concentration (PBZ) to growth of pearl millet in pot plants and completely randomized design was designed and conducted into 6 treatments including control (PBZ 0), 50, 100, 150, 200 and 250 mgL-1 with 10 replications. The results founded that high concentration of PBZ showed the inverse variation with growth of pearl millet in pot plants. For PBZ0 gave the height, leaf length, flower stalk length and flower length at week 6 are 60.78, 20.94, 23.89 and 12.64 cm, respectively. The average of flower fresh weight per plant, dry weight per plant and dry weight only flower per plant at week 6 are 80.64, 17.77, 5.58 grams, respectively. The results could be applied to produce the pearl millet in pot as ornamental plants which consumer demand in industrial production. Keywords: Paclobutrazol Pearl Millet Growth Potted plants Flower stalk

วารสารปีที่ 21 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152