การศึกษาการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพแบบบูรณาการ: กรณีศึกษา ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
การศึกษาการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพแบบบูรณาการ: กรณีศึกษา ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Study integration of the solid waste management efficiently: case study at Nongkhon subdistric, Amphoe Muang, Ubon Ratchathani
--------------------------------------------
โดย บษพร วิรุณพันธุ์* และ ประกายรุ่ง จวนสาง
ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2021-06-28 10:40:02
ดาวน์โหลด
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพในชุมชนแบบบูรณาการ พฤติกรรมในการจัดการขยะ การมีจิตสำนึกในการจัดการขยะ กรณีศึกษา ในพื้นที่ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเจ้าบ้านหรือตัวแทนเจ้าบ้านตามบัญชีรายชื่อในทะเบียนราษฎร์ของตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้จำนวนตัวอย่าง 335 ครัวเรือนมีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน 1) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามการบริหารจัดการขยะ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเป็นค่าความถี่ และค่าร้อยละ 2) เก็บรวบรวมข้อมูลแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคีเครือข่ายการพัฒนา ที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 3) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในประเด็นการบูรณาการ ผลการศึกษาพบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะอยู่ในเกณฑ์ดีมาก แต่มีพฤติกรรมการการจัดการขยะอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ข้อมูลจากการสำรวจผู้อยู่อาศัย วิเคราะห์ข้อมูลและการทำกลุ่มโฟกัสระดมสมองจากคนที่เกี่ยวข้อง ผลการทดลองพบว่าขยะมูลฝอยส่วนใหญ่เป็นขยะอินทรีย์ (เศษอาหารผัก ผลไม้และใบไม้) นำข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จาการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้นำในชุมชน ร่วมกันหาแนวทางบูรณาการในการจัดการขยะ ได้ข้อสรุปในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งหัวข้อในการบูรณาการดังนี้ 1) การจัดการขยะ 2) การบูรณาการขยะกับการเพาะเห็ด 3) การบูรณาการขยะกับการทำปุ๋ยหมัก 4) การบูรณาการขยะกับการเลี้ยงไส้เดือน และ 5)การบูรณาการขยะกับการเลี้ยงปลา ความพึงพอใจในการอบรมได้ใน ระดับ ดีมาก และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชุมชนต่อไป
คำสำคัญ: การจัดการขยะ การมีส่วนร่วมของชุมชน บูรณาการ
Abstract
This research had the objective to study the integrated solid waste management in a community, to improve management of solid waste, to cultivate the consciousness of participation in waste management in Nongkhon subdistrict, Amphoe Muang Ubon Ratchathani District, Ubon Ratchathani Province. There were 3 steps of doing this research which were 1) the researcher collected quantitative data by using a questionnaire. Data were collected from a sample of 335 sample households. The statistics used for data analysis were frequency and percentage.2) the researcher proceeded a Participatory Action Research (PAR) in which the key informants were stake holders and members of waste management allies in the area obtained by a purposive sampling. The qualitative data were collected by means of in-depth interview and a workshop. 3) organize practical workshops and evaluate the satisfaction after the event. This study found that most of the population samples had a very knowledge about waste but their understandings of the waste management are only in the fair level. The survey’s Data from residents, analyzing the data, and did the focus group, brain storming from the involved people. The results found that the most amount of solid waste were organic wastes (food, vegetables, fruits, woods, leaves). Quantitative and qualitative data collected from sample collection. Analyze data from interviews with community leaders. Find ways to integrated waste management. Conclusions on the workshop to integrate effective waste management. As follows 1) Integration of waste management with mushroom cultivation 2) Integrating waste management with composting 3) Integration of waste management with monthly farming 4) Integration of waste management with fish farming. The results from the satisfaction assessment in this workshop were very good in all training topics and could be implemented in the community.
Keywords: Waste Management ; Community Participation, Integration