การอนุรักษ์ความหลากหลายข้าวพันธุ์พื้นเมืองตามภูมินิเวศสู่ความยั่งยืน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

การอนุรักษ์ความหลากหลายข้าวพันธุ์พื้นเมืองตามภูมินิเวศสู่ความยั่งยืน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

Conservation of Rice Landraces Genetic Varieties on Geographical Ecosystem for Sustainability in Dansai District, Loei Province

--------------------------------------------

โดย ประภาศรี เติมสายทอง และ สุวารีย์ ศรีปูณะ

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 15 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-18 10:39:04

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยสำรวจความหลากหลายข้าวพันธุ์พื้นเมือง จัดหมวดหมู่ข้าวพันธุ์พื้นเมืองตามภูมินิเวศ วิเคราะห์ลักษณะและคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นและเครือข่ายในการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง หาแนวทางส่งเสริมการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองสู่ความยั่งยืน ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากปราชญ์ท้องถิ่น เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ผู้นำชุมชน นักท่องเที่ยวและเยาวชน รวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และประเด็นการประชุมสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการปฏิบัติการ แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า ข้าวพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย เป็นข้าวไร่ 46 สายพันธุ์มากกว่าข้าวนา พันธุ์ข้าวไร่ที่นิยมปลูกมี 11 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หางปลาไหล(ไร่) หางปลาไหลแดง หางปลาไหลขาว หอมเสงี่ยม พญาลืมแกง เล็บช้างดำ เล็บช้างแดง ข้าวเหนียวดำลืมผัว ข้าวเจ้าก่ำหอมหรือก่ำไร่ ข้าวซิวขาวเกลี้ยงหรือซิวขาวอ้าว ข้าวปลาจาด และข้าวนามี 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์อีเหลือง และหางปลาไหล(นา) พื้นที่ปลูกที่ได้ผลดีต้องสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางสูงกว่า 500 เมตร มีความลาดเอียงน้อย มีความชื้นสม่ำเสมอปานกลาง อุณหภูมิ 20-35 องศาเซลเซียส ใช้วิธีการปลูกและเก็บผลผลิตแบบผสมระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับวิธีการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีเครือข่ายข้าวพันธุ์พื้นเมือง 2 รูปแบบ คือ แบบระบบเครือญาติ และแบบทางการที่มีหน่วยงานสนับสนุนการเรียนรู้ การแปรรูปและการจำหน่าย ควรได้มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้าวพันธุ์พื้นเมืองเพื่อสุขภาพและถ่ายทอดคุณค่าสู่คนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวต่อไป คำสำคัญ: ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ความหลากหลาย การอนุรักษ์ ภูมินิเวศ

Abstract

This research aims to survey, collect the local rice diversity and categorize the rice landraces genetic varieties on geographical ecosystem, and analyze the characteristics and local wisdom value and network in local rice on ecosystem, and investigate the guidelines for promoting local rice for sustainable of Dansai district, Loei province. The participatory action research was applied by quantitative and qualitative technique. Data were collected from local wisdom, rice farmers, community leaders, tourists and youths total 100 persons. The research tools were interview schedules, focus group discussion guides, record guides, questionnaire for satisfaction. The results stated that the local rice in Dansai district was the upland rice rather than paddy field rice. There were 46 varieties. The favorite rice was 11 upland varieties such as Hangplalairai, Hangplalaidang, Homsa-gniem, Prayaluemkaeng, Lepchangdum, Lepchagdang, Lumphua black sticky rice, Kamhom or Kamrai paddy rice, Sewkaogrieng or Sewkao-ao and Plajad while there were 2 varieties of paddy field rice of E-laeung and Hangplalaina. The suitable plantation areas were 500 meters higher than middle sea level that had slight slope. The soil was the clay-loam to loam which was stable moderate moisture at 20-35 degrees Celsius of temperature. The directions of plantation and harvesting products signified the mixed methods between traditional local wisdom and modern technology. Besides, the local rice network had 2 patterns. They were kinship system and the formal pattern that was supported by many agencies on learning, transforming and purchasing aspects. The utilization of local rice landraces genetic varieties for health should be supported and transferred to the next generation and tourists. Keywords: Local Varieties Rice, Biodiversity, Conservation

วารสารปีที่ 15 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152