การยับยั้งรา Pyricularia grisea (Sacc.) สาเหตุโรคไหม้ข้าวด้วยราเอนโดไฟต์

การยับยั้งรา Pyricularia grisea (Sacc.) สาเหตุโรคไหม้ข้าวด้วยราเอนโดไฟต์

Inhibition of Pyricularia grisea (Sacc.), Causing of Rice Blast Disease with Endophytic Fungi

--------------------------------------------

โดย พัชรี สินธุนาวา1 และ ชุติมา แก้วกระจาย1* Patcharee Sinthunawa1 and Chutima Kaewkrajay1

ผู้แต่งร่วม พัชรี สินธุนาวา1 และ ชุติมา แก้วกระจาย1* Patcharee Sinthunawa1 and Chutima Kaewkrajay1

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 481
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-01-08 15:27:37

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกราเอนโดไฟท์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งรา Pyricularia grisea (Sacc.) สาเหตุโรคไหม้ข้าว จากการแยกราเอนโดไฟท์จากตัวอย่างข้าวที่เก็บแบบสุ่มในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง จำนวน 89 ตัวอย่าง แยกราเอนโดไฟท์ได้ทั้งหมด 126 ไอโซเลต ในจำนวนนี้มี 3 ไอโซเลต ที่มีความสามารถในการยับยั้งรา P. grisea (Sacc.) สาเหตุโรคไหม้ข้าว คือ SK18-1s PM19-3s และ TR31 มีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 51.43±0.02 44.29±0.04 และ 51.43±0.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อทำการจัดจำแนกชนิดของราโดยวิธีชีวอณูโมเลกุล บริเวณ internal transcript spacer (ITS) ราเอนโดไฟท์ทั้ง 3 สายพันธุ์ จัดจำแนกเป็น Penicillium oxalicum โดยมีความเหมือนกับ P. oxalicum (NR_121232.1T) 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่าทั้ง 3 สายพันธุ์มีเส้นใยสีเขียวแก่ เส้นใยมีผนังกั้น สร้างสปอร์ลักษณะกลมจำนวนมาก จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าราเอนโดไฟท์ทั้ง 3 สายพันธุ์มีศักยภาพในการยับยั้งรา P. grisea (Sacc.) ได้ดี การวิจัยต่อยอดกับต้นข้าวในแปลงทดลองน่าจะเป็นการยืนยันศักยภาพของราเอนโดไฟท์นี้ในการควบคุมโรคไหม้ข้าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย ลดการใช้สารเคมี การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ อันเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม คำสำคัญ: ราเอนโดไฟต์ การควบคุมศัตรูพืชแบบชีววิธี Pyricularia grisea (Sacc.) โรคไหม้ข้าว การยับยั้ง

Abstract

This research aimed to screen for endophytic fungi which high efficiency to inhibit Pyricularia grisea (Sacc.), causing of rice blast disease. One hundred-twenty six isolates of endophytic fungi were isolated from 89 rice samples which were randomly collected from paddy field in Phranakhon Si Ayutthaya and Ang-thong provinces. Three isolates showed dominantly against P. grisea (Sacc.) namely strain SK18-1s, PM19-3s and TR31. The percentage of inhibition showed 51.43±0.02, 44.29±0.04 and 51.43±0.00, respectively. The molecular identification of these fungi were performed at the internal transcript spacer (ITS) region. The results implied that all of them were identified as Penicillium oxalicum which similarity to type strain P. oxalicum (NR_121232.1T) 100%. The morphology of three strains showed dark green colonies, septate hyphae and numerous globose spores. These results implied that the three endophytic fungi strains showed high efficiency to inhibit P. grisea (Sacc.). Endophytic fungi against P. grisea (Sacc.) on rice plants should be studied to confirm the ability of these fungi to control rice blast disease. This research is more beneficial to develop Thai agriculture such as reduce the use of synthetic chemical substances, organic agriculture promoting, and show friendly to consumers and environments. Keywords: endophytic fungi, biological control, Pyricularia grisea (Sacc.), rice blast disease, inhibition

วารสารปีที่ 18 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ Bbb ฉบับที่ Bnn

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

174