การทดสอบพันธุ์เผือกเพื่อบริโภคสดและการแปรรูป

การทดสอบพันธุ์เผือกเพื่อบริโภคสดและการแปรรูป

Taro Variety Testing for Fresh Consumption and Processing

--------------------------------------------

โดย ทวีป หลวงแก้ว กันยารัตน์ ตันยา บุญเชิด แก้วสิทธิ์ สุรพงษ์ อนุตธโต และ พินิจ เขียวพุ่มพวง

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-03 14:32:17

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

เผือกที่เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเป็นพันธุ์พื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น มีการแตกหน่อข้างมาก ผลผลิตต่ำ คุณภาพของหัวไม่ตรงกับความต้องการของตลาด การวิจัยครั้งนี้ต้องการตรวจสอบคุณสมบัติของพันธุ์เผือก จึงได้ทำการทดลองการทดสอบพันธุ์เผือกเพื่อบริโภคสดและการแปรรูป เพื่อให้ได้พันธุ์เผือกที่ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตมีคุณภาพดี เหมาะสมสำหรับรับประทานและแปรรูปเป็นอุตสาหกรรม วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 6 กรรมวิธี และ 4 ซ้ำ ในแต่ละกรรมวิธีคือ เผือกสายต้น THA157 THA007 THA088 THA180 พันธุ์ของเกษตรกร และพันธุ์พิจิตร1 (THA001) ผลการวิจัยพบว่า ความสูงต้น เส้นรอบวงโคนต้น จำนวนหน่อ ระยะห่างของหน่อ จำนวนลูกซอ และผลผลิต มีความแตกต่างกันทางสถิติ พบเผือกพันธุ์พิจิตร1 มีความสูงของต้นสูงที่สุด 96.3 เซนติเมตร เผือกสายต้น THA157 มีเส้นรอบวงโคนต้นกว้างที่สุด 23.8 เซนติเมตร เผือกสายต้น THA007 มีจำนวนหน่อต่อต้นน้อยที่สุด 2.60 หน่อ เผือกสายต้น THA088 มีระยะห่างของหน่อห่างที่สุด 13.8 เซนติเมตร และเผือกสายต้น THA157 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงที่สุดที่ 4,256 กิโลกรัม ขณะที่ทุกสายพันธุ์ได้รับความนิยมของผู้บริโภคในระดับดี (4 จาก 5 คะแนน) คำสำคัญ: เผือก ทดสอบพันธุ์ การเจริญเติบโต ผลผลิต

Abstract

The commercial taro varieties that farmer grows for are usually native ones which found undesirable traits, such as a lot of suckers, low yield, low quality for consumption. This study was aimed to examine the properties of various varieties of taro for consuming and for processing as in industry aspect (high yield, and good quality). The experimental design was a Randomized Complete Block Design with 4 replications in each 6 treatments of 6 varieties including, THA157 THA007 THA088 THA180 and also used varieties of farmer (check 2) and Phichit1 (THA001; check 2) as controls. The results revealed that the Phichit1 variety and THA180 check 1 and THA157 had the plant height than THA007. The THA157 had the longer stem circumference than others expcepts THA007. The THA007 had less numbers of the sucker of than THA180 and THA001. The THA088 and THA180 had wider the interval spacing between the main stem to sucker than THA007 and check 1. Considering the aspect of yield, the THA157 showed the non-significant yield as compared to THA180 and THA001 varieties, These being 4,256, 3,578 and 4,198 kilograms/rai. In terms of consumption quality, consumers satisfied all of the selected lines, with a rating score of 4 out of 5. Keywords: Taro, Varieties Testing, Growth, Yield

วารสารปีที่ 19 ฉบับที่ 1

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 23 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

184