การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดูดซับไนโตรเจนจากมูลไก่สำหรับ ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดธาตุอาหารสูง

การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดูดซับไนโตรเจนจากมูลไก่สำหรับ ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดธาตุอาหารสูง

The Use of Agricultural Residues Absorb Nitrogen from Chicken Manure to Produce Organic Fertilizer High Nutrients

--------------------------------------------

โดย สุดาพร ตังควนิช และ พิริยาภรณ์ แก้วศรี

ประเภท : บทความวิจัย
ปีที่ตีพิมพ์ : วารสารเกษตรราชภัฏ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
ผู้เข้าชม 0
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2020-11-18 09:57:15

ดาวน์โหลด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดูดซับไนโตรเจนจากมูลไก่สำหรับผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดธาตุอาหารสูง วัสดุที่นำมาดูดซับไนโตรเจนจากมูลไก่ ได้แก่ เปลือกมะพร้าว แกลบเผาและถ่านไม้ยูคาลิปตัส ความสามารถในการดูดซับไอโอดีนของเปลือกมะพร้าว แกลบเผาและถ่านไม้ยูคาลิปตัสมีค่าเท่ากับ 0.17, 0.14 และ 0.16 ตามลำดับ ร้อยละประสิทธิภาพในการดูดซับเมทิลลีนบลูของเปลือกมะพร้าว แกลบเผาและถ่านไม้ยูคาลิปตัส เท่ากับ 51.58, 30.40 และ 28.86 ตามลำดับ การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเปลือกมะพร้าว : ถ่านไม้ยูคาลิปตัส : แกลบเผา : มูลไก่ ในอัตราส่วนต่าง ๆ บ่มเป็นเวลา 1, 3, 5, 7, 9, 15 และ 30 วัน พบว่าเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนของปุ๋ยอินทรีย์สูตรที่ 2 (2 : 3 : 1 : 6) มีแนวโน้มเพิ่มมากข้นกว่าปุ๋ยสูตรอื่นๆ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.624, 1.543, 1.390, 1.655, 1.651 และ 1.666 ตามลำดับ ฟอสฟอรัสในปุ๋ยอินทรีย์สูตรที่ 1 (1 : 2 : 3 : 6) มีค่าสูงที่สุดคือ 1.469 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียมของปุ๋ยอินทรีย์สูตรที่ 3 (3 : 1 : 2 : 6) มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 2.425 เปอร์เซ็นต์ ผลการประเมินปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 4 สูตร พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารหลักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร 2557 เปอร์เซ็นต์การปลดปล่อยแร่ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมของปุ๋ยอินทรีย์ในดินบ่มนาน 1, 3, 5, 7, 9, 15 และ 30 วัน พบว่าการปลดปล่อยแร่ธาตุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาเพิ่มขึ้นและมีค่าสูงสุดเมื่อบ่มนานเป็นเวลา 30 วัน คำสำคัญ: วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การดูดซับ ไนโตรเจน มูลไก่ ปุ๋ยอินทรีย์

Abstract

This research aims to studied the use of agricultural residues absorb nitrogen from chicken manure to produce organic fertilizer high nutrients. The raw materials used to absorb nitrogen from chicken manure were coconut shell, rice husk ash and eucalyptus charcoal. The iodine number of coconut shell, rice husk ash and eucalyptus charcoal was equal to 0.17, 0.14 and 0.16, respectively. Optimum ratios of coconut shell : eucalyptus charcoal : rice husk ash : chicken manure in various ratios incubated time for 1, 3, 5, 7, 9, 15 and 30 days showed that the nitrogen percentage of fertilizer formulas 2 (2: 3: 1: 6) was increase trend higher than other fertilizers formulas which was equal to 1.624, 1.543, 1.390, 1.655, 1.651 and 1.666, respectively. The phosphorus of fertilizer formula 1 (1: 2: 3: 6) reflected the highest percentage was 1.469. Potassium of fertilizer formula 3 (3. 1: 2: 6) showed a maximum value of 2.425 percent. Evaluation results of organic fertilizer 4 formulations found that the percentages of main nutrients are in the organic fertilizer standards of the Department of Agriculture on 2557. Percent nitrogen, phosphorus and potassium nutrient release of organic fertilizer incubated in soil for 1, 3, 5, 7, 9, 15 and 30 days increase with time increase and showed the highest nutrient release value when incubated in soil for 30 days. Keywords: : Agricultural Residues, Adsorption, Nitrogen Chicken Manure, Organic Fertilizer

วารสารปีที่ 18 ฉบับที่ 2

ตีพิมพ์ล่าสุด

ปีที่ 21 ฉบับที่ 1

บทความที่ตีพิมพ์แล้ว

152